ข้าพเจ้าขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา

แบบก่อสร้างวิหารทาน-เสนาสนะ-อาคารทั้งหลายนี้ 
ไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปเพื่อวิหารทาน,วิทยาทาน
และเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยชอบธรรมทั้งสิ้นแล วัดและหน่วยงานราชการ สามารถนำแบบไปทำซ้ำดัดแปลงเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

ด้วยอานิสงค์นี้
ขอให้ข้าพเจ้าและคณะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
กำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา
กำลังคน กำลังทรัพย์ เต็มบริบูรณ์
นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
ติณฺโณ ตาเรยฺยํ
มุตฺโต โมเจยฺยํ
พุทโธ โพเธยฺยํ
เราข้ามได้แล้ว จะให้ผู้อื่น ข้ามได้ด้วย
เราพ้นแล้ว จะให้ผู้อื่น พ้นด้วย
เรา....รู้แล้ว จะให้ผู้อื่น รู้ด้วย
"อิมินา ปุญญะกัมเมนะ พุทโธ โหมิ อะนาคะเต กาเล"
ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าที่บำเพ็ญเพียรมาแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนี้ขอเป็นพละปัจจัยให้มั่นคงในปณิธานส่งให้สำเร็จถึงซึ่งพระโพธิญาณในอนาคตกาลเบื้องหน้าด้วยเทอญ
กุศลอันเกิดจาก วิทยาทาน,วิหารทานนี้ พึงปรากฏประโยชน์และความสุขกับข้าพเจ้าเพียงใด ขอกุศลเหล่านั้นโปรดยังประโยชน์และความสุขแก่ทุกๆท่าน เสมอหนึ่งยังแก่ข้าพเจ้า ทุกประการ เทอญ

หมายเหตุ :
ทีมงานแจกแบบก่อสร้างฟรีเท่านั้น
ไม่ได้รับเหมาก่อสร้างและไม่เคยแนะนำผู้รับเหมาฯ
ไปยังวัด-หน่วยงานใดๆทั้งสิ้น กรณีมีผู้รับเหมากลุ่มใดอ้างตนว่าเป็น
ทีมงานกรอาร์ช หรือแนะนำให้มารับเหมาฯหรือเรียกรับผลประโยชน์เพื่อต้องการงาน ให้ถือว่าเป็นมิจฉาชีพ หรือเจ้าหน้าที่ราชการ,เทศบาลหรือ อบต.นำแบบทั้งหมดนี้ไปขายต่อ ในเชิงพาณิชย์ใดใด จะดำเนินคดีตามกฏหมายอย่างเด็ดขาดนะครับ
เพื่อความปลอดภัย ควรมีวิศวกรดูแลและให้คำปรึกษาหน้างานก่อสร้างตลอดการก่อสร้าง และควรระวังผู้รับเหมาลดขนาดเหล็กลดขนาดงานโครงสร้างให้ผิดไปจากแบบก่อสร้างของทางทีมงาน ทางวัดผู้รับผิดชอบการก่อสร้างควรกำชับให้ผู้รับเหมา
สร้างตามแบบ มีข้อสงสัยให้โทรสอบถามได้ทันที กร(สถาปนิก)0894816742.

Locations of Site Visitors

คำขอขมาพระรัตนตรัย


คำขอขมาพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ

(ถ้าหลายคนว่า.....ขะมะตุ โน ภันเต, ฯลฯ....ขะมะตุ โน ภันเต , อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ )

หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลายและผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ

จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)

อ.เมือง จ.อุทัยธานี

ข่าวมหากุศล


ร่วมทำบุญกับวัดท่าซุง 
http://www.watthasung.com/

ธัมมวิโมกข์ นิตยสารธรรมปฏิบัติ ธรรมที่ทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์
วางจำหน่ายเล่มละ 30 บาท ที่ศาลานวราชและตึกรับแขก
วัดจันทาราม(ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
หรือสนใจติดตามรับคำสอนทุกเดือน
โดยสมัครเป็นสมาชิกราย 6 เดือน (180 บาท)
ราย 1 ปี (360 บาท) ราย 2 ปี (720 บาท)
(รวมค่าจัดส่งแล้ว) หรือสมัครเป็นธรรมทาน
ให้กับหน่วยงาน สถาบันต่างๆเช่น วัด ห้องสมุด เรือนจำ เป็นต้น
https://www.facebook.com/thammathasung/

********************************************




********************************************

ขอเรียนเชิญ พุทธบริษัททุกท่าน 
ร่วมเป็นเจ้าภาพสมทบทุนสร้า
พระพุทธไสยาสน์(พระนอน) ความยาว ๑๐๐ เมตร
ณ วัดซับไพเราะ (ถ้ำแก้วผางาม ตะปะสี) 
เลขที่ ๓๐ หมู่ ๓ ต.ซับไม้แดง 
อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ โดยหลวงตาถ้ำ ตปสี
เพื่อเป็นพุทธบูชา ดำรงค์พระศาสนา
ครบ ๕,๐๐๐ ปี หากประสงค์ร่วมเป็นเจ้าภาพ
โดยทำบุญผ่านธนาคารได้ที่ธนาคารไทยพานิชย์
หมายเลขบัญชี ๔๐๕-๐๔๕๑๓๖-๐
ชื่อบัญชี พระสมชาย หงวนกระโทก
สอบถามรายละเอียด โทร ๐๘ ๙๐๓๘ ๐๐๙๔
อนุโมทนาสาธุ..


นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว
ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว





ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดงานวัด พ.ศ. ๒๕๑๐

 วิทยาพระสังฆาธิการ (๑)

ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดงานวัด พ.ศ. ๒๕๑๐

ระเบียบมหาเถรสมาคม

ว่าด้วยการจัดงานวัด พ.ศ. ๒๕๑๐ [1]

—————-

      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มหาเถรสมาคมวางระเบียบมหาเถรสมาคมไว้ ดังต่อไปนี้

      ข้อ ๑. ระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ เรียกว่า “ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดงานวัด พ.ศ. ๒๕๑๐”

      ข้อ ๒. ระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน

แถลงการณ์คณะสงฆ์   เป็นต้นไป

      ข้อ ๓ ตั้งแต่วันใช้ระเบียบนี้ ให้ยกเลิกประกาศคณะสงฆ์เกี่ยวกับการจัดงานวัดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบมหาเถรสมาคมนี้

หมวด ๑
บททั่วไป

      ข้อ ๔ ในระเบียบนี้

            (๑) “เจ้าคณะ” หมายถึงผู้ปกครองคณะสงฆ์ตามลำดับชั้น ในเขตซึ่งวัดที่จะจัดงานนั้นตั้งอยู่

            (๒) “เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง” สำหรับในจังหวัดพระนคร ธนบุรี ให้หมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และสารวัตรใหญ่ ในจังหวัดอื่นให้หมายถึงผู้ว่าราชการ จังหวัด นายอำเภอและผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอในท้องที่ซึ่งวัดที่จัดงานนั้นตั้งอยู่

      ข้อ ๕ งานวัดตามระเบียบนี้ มี ๓ ประเภท คือ

            (๑) งานเทศกาล ได้แก่ งานนมัสการปูชนียวัตถุ ปูชะนียสถาน หรืองานประเพณีที่มีการออกร้านและมหรสพ ซึ่งเป็นงานประจำปี

            (๒) งานมหกรรม ได้แก่ งานฉลองหรืองานกุศล ที่มีการออกร้นและมหรสพ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งคราว

            (๓) งานชุมนุม ได้แก่ งานที่วัดขัดขึ้นเองหรือมีผู้ขอจัดขึ้นภายในวัด

      ข้อ ๖ การจัดงานวัดทุกประเภท จะต้องให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย ศีลธรรม กฎหมาย และระเบียบหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

      ข้อ ๗ การจัดงานวัดทุกประเภท ห้ามมิให้

            (๑) การแสดงใด ๆ อันเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

            (๒) การพนัน และการหารายได้โดยวิธีเสี่ยงโชคเลียนแบบการพนัน

            (๓) การเต้นรำ รำวง และการแสดงภาพนิ่งหรือภาพยนตร์ลามก

            (๔) การแสดงระบำหรือการแสดงอย่างอื่น ที่เป็นการยั่วยุกามารมณ์

            (๕) การแข่งขันมวย การทรมานสัตว์ เช่น กัดปลา ชนไก่ ชนโค เป็นต้น

            (๖) การจำหน่ายสุราเมรัย และการเลี้ยงสุราเมรัย

            (๗) การประกวดสาวงามและการแสดงการแต่งกายที่ขัดต่อศีลธรรมและวัฒนธรรม

หมวด ๒
งานเทศกาล

      ข้อ ๘ ในการจัดงานเทศกาลของวัด ให้มีกรรมการจัดงานคณะหนึ่งอย่างน้อย ๙ คน มีหน้าที่วางโครงการและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบมหาเถรสมาคมนี้

      ข้อ ๙ คณะกรรมการการจัดงานเทศกาลของวัดดังกล่าวในข้อ ๘ ประกอบด้วย

            (๑) คณะกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าอาวาสวัดนั้นเป็นประธานกรรมการ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองหรือผู้แทน และถ้า

                   (ก) งานมีกำหนดตั้งแต่ ๓ วันขึ้นไป ให้เจ้าคณะตำบลหรือผู้แทนเป็นที่ปรึกษา

                   (ข) งานกำหนดตั้งแต่ ๕ วันขึ้นไป ให้เจ้าคณะอำเภอหรือผู้แทนเป็นที่ปรึกษา

                   (ค) งานมีกำหนดตั้งแต่ ๗ วันขึ้นไป ให้เจ้าคณะจังหวัดหรือผู้แทนเป็นที่ปรึกษาและอธิบดีกรมการศาสนา หรือผู้แทนเข้าร่วมด้วย

            (๒) กรรมการโดยการแต่งตั้ง ได้แก่พระภิกษุในวัด อุบาสกอุบาสิกาผู้บำรุงวัดนั้นหรือบรรพชิตหรือคฤหัสถ์อื่น ที่เจ้าอาวาสวัดนั้นแต่งตั้ง

            (๓) ถ้าเป็นการสมควรเจ้าจะเชิญบุคคลอื่นเป็นกรรมการอีกคณะหนึ่งก็ได้

      ข้อ ๑๐ ในโครงการจัดงานเทศการดังกล่าวในข้อ ๘ ให้ระบุ

            (๑) รายนามกรรมการจัดงาน

            (๒) วัตถุประสงค์ของการจัดงาน

            (๓) กำหนดวันเวลาที่จัดงาน

            (๔) ประเภทมหรสพที่วัดจะจัดให้มาแสดงในงาน

            (๕) ประเภทการแสดงที่วัดจะนำออกแสดงในงาน

            (๖) ประเภทการประกวดแข่งขันที่วัดจะจัดขึ้นในงาน

            (๗) ประเภทประโยชน์ที่จะได้จากการจัดงาน

            (๘) รายการอื่นที่สมควรจะรายงานให้ทราบ

        ข้อ ๑๑ ให้เจ้าอาวาสเสนอโครงการจัดงานเทศกาล ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชา ดังนี้

             (ก) งานมีกำหนดตั้งแต่ ๓ วันขึ้นไป ให้ขออนุญาตต่อเจ้าคณะอำเภอ

             (ข) งานกำหนดตั้งแต่ ๕ วันขึ้นไป ให้ขออนุญาตต่อเจ้าคณะจังหวัด

             (ค) งานมีกำหนดตั้งแต่ ๗ วันขึ้นไป ให้ขออนุญาตต่อเจ้าคณะภาค

      ทั้งนี้ นอกจากการขออนุญาตตามระเบียบแบบแผนของฝ่ายบ้านเมืองแล้ว ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าคณะดังกล่าวข้างต้น จึงจัดให้มีงานได้

      ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ดำเนินการ ต่อไปนี้ ในงานเทศกาลของวัด คือ

            (๑) กู้ยืมเงินผู้อื่นมาลงทุน อันจะทำให้วัดเกิดข้อผูกพันชดใช้หนี้สิน

            (๒) ให้เอกชนผูกขาดการจัดงานเทศกาลทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง

      ข้อ ๑๓ ผลประโยชน์จากงานเทศกาลของวัดใด ให้เป็นศาสนสมบัติของวัดนั้น การกำหนดในกฎกระทรวง ตามความในมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พงศ. ๒๕๐๕

      ข้อ ๑๔ เมื่อเสร็จงานเทศกาลแล้ว ให้คณะกรรมการทำรายงานผล พร้อมด้วยบัญชีแสดงประเภทรายได้รายจ่าย เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงเจ้าคณะผู้อนุญาตให้จัดงานเทศกาลนั้นภายใน ๖๐ วัน

หมวด ๓
งานมหกรรม

      ข้อ ๑๕ ในการจัดงานมหกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้บำรุงวัด หรือบำรุงกิจการใด ๆ ของวัด และมีกำหนดงานตั้งแต่ ๕ วันขึ้นไป ให้เจ้าอาวาสนั้นแต่งตั้งกรรมการจัดงานขึ้นคณะหนึ่ง มีเจ้าอาวาสนั้นเป็นประธานกรรมการ และให้ทำโครงการจัดงานโดยอนุญาตตามความในข้อ ๑๐ เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ เฉพาะงานมีกำหนดตั้งแต่ ๕ วันขึ้นไป ให้ขออนุญาตต่อเจ้าคณะภาค เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าคณะดังกล่าวแล้ว จึงจัดให้มีงานได้

      ในการดำเนินงานมหกรรมดังกล่าวในวรรคต้น ให้นำความในข้อ ๑๒ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

      ข้อ ๑๖ เมื่อเสร็จงานมหกรรมตามความในข้อ ๑๕ แล้ว ให้รายงานผลการจัดงานต่อผู้บังคับบัญชาโดยอนุโลมตามความในข้อ ๑๔

หมวด ๔
งานชุมนุม

      ข้อ ๑๗ ผู้ใดจะจัดงานชุมนุมในวัด ซึ่งมิใช่งานเทศกาล หรืองานมหกรรมให้ผู้นั้นขออนุญาตต่อเจ้าอาวาส เมื่อเจ้าอาวาสอนุญาตแล้ว จึงจัดได้เว้นแต่กรณีที่วัดจัดขึ้นเอง

      ข้อ ๑๘ งานชุมนุมซึ่งจัดขึ้นในบริเวณวัดใด ต้องเป็นงานที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนา การส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของประชาชน การส่งเสริมการศึกษา การส่งเสริมศีลธรรม การส่งเสริมกิจการทางราชการ และการบำเพ็ญศาสนกิจของบรรพชิตและคฤหัสถ์

      ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสให้จัดงานชุมนุมในวัด จะต้องรับผิดชอบต่อวัดในกรณีที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่วัด

หมวด ๕
เบ็ดเตล็ด

      ข้อ ๒๐ เจ้าอาวาสรูปใดฝ่าฝืนระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ ให้ถือว่าละเมิดจริยาพระสังฆาธิการและต้องรับโทษฐานละเมิดจริยาพระสังฆาธิการ ตามความในหมวด ๖ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ

ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ

สมเด็จพระสังฆราช ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม


[1] ประกาศในแถลงการณ์คณธสงฆ์ ฉบับพิเศษ เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๙ : ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๐


https://www.watmoli.com/wittaya-one/1518/

ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา ปุจฉา-วิสัชนา Somdet Phra Buddhaghosacariya (P. A. Payutto)

 

คำปรารภ

ในการจัดงานฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา วัดญาณเวศกวัน คณะกรรมการจัดงานและญาติโยมมีความตั้งใจจะทำให้เป็นงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านความรู้ที่ถูกต้องแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งทางด้านพระวินัยตามพระพุทธบัญญัติ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทย โดยใช้งานบุญตามประเพณีให้เป็นประโยชน์เจริญธรรมเจริญปัญญาแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นความตั้งใจที่สอดคล้องกับความประสงค์ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ที่ได้ดำริไว้เป็นเบื้องต้นแล้ว

https://www.watnyanaves.net/en/book-full-text/265




ขั้นตอนและวิธีการในการขออนุญาตจัดงานวัด

 

ขั้นตอนและวิธีการในการขออนุญาตจัดงานวัด
โดย...พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๒๙๐

                การขออนุญาตจัดงานวัด มีขั้นตอนและวิธีดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดงานวัด พ.ศ. ๒๕๓๗ ออกตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่๒ ) พ.ศ.๒๕๓๕ มหาเถรสมาคมวางระเบียบไว้ โดยสรุปดังต่อไปนี้ (ขอให้อ่านระเบียบให้เข้าใจก่อนดำเนินการ)

งานวัดตามระเบียบนี้ มี ๓ ประเภท (ระเบียบข้อ ๕) ได้แก่
                (๑) งานเทศกาล ได้แก่งานนมัสการปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน หรืองานประเพณีที่มีการออกร้านและมหรสพซึ่งเป็นงานประจำปี
                (๒) งานมหรสพ ได้แก่งานฉลอง หรืองานกุศลที่มีการออกร้านและมหรสพ ซึ่งจัดขึ้นเป็นการครั้งคราว
                
(๓) งานชุมนุม ได้แก่งานที่วัดจัดขึ้นเองหรือมีผู้ขอจัดขึ้นภายในวัด

ข้อควรตระหนัก (ระเบียบข้อ ๖ ).-
                
การจัดงานวัดทุกประเภท จะต้องให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย ศีลธรรม กฎหมาย และระเบียบหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

ข้อห้ามมิให้มีในงานดังกล่าว (ระเบียบข้อ ๗).- การจัดงานวัดทุกประเภท ห้ามมิให้มี
                (๑) การแสดงใด ๆ อันเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์
                (๒) การพนัน และการหารายได้โดยวิธีเสี่ยงโชคเลียนแบบการพนัน
                (๓) การเต้นรำ รำวง และการแสดงภาพนิ่งหรือภาพยนตร์ลามกอนาจาร
                (๔) การแสดงระบำหรือการแสดงอย่างอื่น ที่เป็นการยั่วยุกามารมณ์
                (๕) การแข่งขันมวย การทรมานสัตว์ เช่น กัดปลา ชนไก่ ชนโค เป็นต้น
                (๖) การจำหน่ายสุราเมรัย และการเลี้ยงสุราเมรัย
                (๗) การประกวดสาวงามและการแสดงการแต่งกายที่ขัดต่อศีลธรรมและวัฒนธรรม

ผู้บังคับบัญชาที่เจ้าอาวาสควรยื่นเอกสารขออนุญาตจัดงาน ให้เจ้าอาวาสเสนอโครงการจัดงานเทศกาล ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้
                (ก) งานมีกำหนดตั้งแต่ ๓ วันขึ้นไป ให้ขออนุญาตต่อเจ้าคณะอำเภอ
                (ข) งานมีกำหนดตังแต่ ๕ วันขึ้นไป ให้ขออนุญาตต่อเจ้าคณะจังหวัด
                (ค) งานมีกำหนดตั้งแต่ ๗ วันขึ้นไป ให้ขออนุญาตต่อเจ้าคณะภาค

เขียนโครงการจัดงาน (ระเบียบข้อ ๑๐) ในโครงการจัดงานเทศกาลดังกล่าว โดยให้ระบุ.-
                (๑) รายนามกรรมการจัดงาน
                (๒) วัตถุประสงค์ของการจัดงาน
                (๓) กำหนดวันเวลาที่จัดงาน
                (๔) ประเภทมหรสพที่วัดจะจัดให้มาแสดงในงาน
                (๕) ประเภทการแสดงที่วัดจะนำออกแสดงในงาน
                (๖) ประเภทการประกวดแข่งขันที่วัดจะจัดขึ้นในงาน
                (๗) ประเภทผลประโยชน์ที่วัดจะได้จากการจัดงาน
                (๘) รายการอื่นที่สมควรจะรายงานให้ทราบ เช่น หลักการและเหตุผล ขั้นตอนในการดำเนินงาน งบประมาณดำเนินงาน แหล่งงบประมาณ (ห้ามยืมเงินมาจัดงาน) สถานที่จัดงาน ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน (โดยต้องระบุ "เจ้าอาวาส เป็นผู้ดำเนินงาน" และห้ามเอกชนผูกขาดการจัดงาน หรือเหมางาน ทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ตามระเบียบข้อ ๑๒) และผลที่คาดว่าจะได้รับ

ขั้นตอนในการดำเนินการ

            ๑. เจ้าอาวาสจัดทำเอกสาร จำนวน ๕ ชุด แล้วยื่นเอกสารเพื่อขออนุญาตจัดงานต่อเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด หรือภาค ตามสมควรแก่กรณี เพื่อพิจารณาลงนามแล้วเก็บเอกสารไว้เพื่อเป็นหลักฐานชั้นละ ๑ ชุด จนถึงผู้ปกครองระดับสุดท้าย (ตามระเบียบข้อ ๑๑)

            ๒. เมื่อเจ้าคณะระดับต่าง ๆ เห็นสมควรก็จะพิจารณาลงนาม แล้วเสนอเรื่องและความเห็นไปยังเจ้าคณะผู้มีอำนาจอนุญาตตามระเบียบข้อ ๑๑

            ๓. เมื่อเจ้าคณะผู้มีอำนาจอนุญาต พิจารณาเห็นสมควรแล้ว จะลงนามอนุญาต และเก็บเอกสารไว้เพื่อเป็นหลักฐาน ๑ ชุด แล้วจะคืนต้นฉบับ ให้แก่เจ้าอาวาสที่ขออนุญาตจัดงานเพื่อเป็นหลักฐาน

            ๔. เมื่อได้รับอนุญาตให้จัดงานแล้ว จึงสมควรขึ้นป้ายโฆษณาการจัดงาน และดำเนินการในส่วนอื่น ๆ ได้

            ๕. เมื่อเสร็จงานเทศกาลแล้ว ให้ทำรายงานผล พร้อมด้วยบัญชีแสดงประเภทรายได้รายจ่าย เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงเจ้าคณะผู้อนุญาตให้จัดงานเทศกาลนั้นภายใน ๖๐ วัน

เอกสารประกอบการพิจารณาในการขออนุญาตจัดงานวัด

            ๑.หนังสือขออนุญาตจัดงาน (ใช้แบบหนังสือภายนอก) โดยมีข้อมูลแสดงความเห็นของเจ้าคณะทุกระดับชั้น ไปจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต ตามระเบียบข้อ ๑๑

            ๒.โครงการจัดงาน ตามระเบียบข้อ ๑๐

            ๓.คำสั่งแต่งตั้งกรรมการจัดงาน (ตามระเบียบข้อ ๘ และข้อ ๙)

            ๔.เอกสารประกอบอื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณา

            ๕.หากเป็นการจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตและผูกพัทธสีมา จะต้องแนบสำเนา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา (ของวัดนั้น) โดยให้เจ้าอาวาสลงนามรับรองสำเนาถูกต้องไปด้วย

หมายเหตุ.- การจัดทำแบบรายงานขออนุญาตจัดงาน ขอให้จัดทำ ๕ ชุด (ในกรณีจัดงาน ๗ วันขึ้นไป) ดังนี้
            ๑.สำเนาไว้ที่เก็บไว้สำนักงานเจ้าคณะตำบลเพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
            ๒.สำเนาเก็บไว้สำนักงานเจ้าคณะอำเภอ เพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
            ๒.สำเนาเก็บไว้สำนักงานเจ้าคณะจังหวัด เพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
            ๓.สำเนาเก็บไว้สำนักงานเจ้าคณะภาค เพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
            ๔.เจ้าคณะผู้มีอำนาจลงนามอนุญาต เมื่อพิจารณาลงนามอนุญาตแล้ว จะคืนต้นฉบับ ให้แก่วัดเพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด


http://www.mahabunhome.com/wat_anuyat_work.html

(ตัวอย่างหนังสือเพื่อขออนุนุญาตจัดงานวัด-เหตุการณ์สมมมติ)










สุวรรณประภาสสูตร (พระสูตรมหายาน)

 "ชนทั้งหลายที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้ดูแล ไม่มีผู้อุปถัมภ์ 

ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ดูแล เป็นผู้อุปถัมภ์ และเป็นที่พึ่งอันดีเลิศขอสัตว์เหล่านั้น

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีใจเมตตากรุณา ทรงสถิตย์อยู่ในทิศทั้งสิบ 

ขอจงรับคำขอร้อง แล้วทรงเอาพระทัยใส่ต่อข้าพเจ้าด้วยเถิด"

- สุวรรณประภาสสูตร - 

สุวรรณประภาสสูตร (พระสูตรมหายาน) 

ปริจเฉทที่ 4 เทศนาปริวรรต; 

เป็นคำกล่าวของพระรุจิรเกตุโพธิสัตว์

#ศึกษาสุวรรณประภาสสูตร 

// ภาพประกอบ : พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (พระกวนอิม) 

ผู้เป็นตัวแทนแห่งความกรุณาที่มีในพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวง



แบบก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์แบบที่37

  แบบก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์แบบที่37

บุคคลทั่วไปโหลดได้ที่นี่ครับ


Architect : KornArch
Civil engineer : คุณสิงหา แดงนิเวศน์,
Electrical engineerคุณวันชัย พิรอดรัตน์
DraftMan : คุณรัฐศาสตร์ เลิศวิริยะนนท์
3D Rendering : KornHouse



แบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญภาคใต้ โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง

แบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ ภาคใต้

แบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญภาคอีสาน โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง

 

แบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ ภาคอีสาน
Picture

แบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญภาคอีสาน โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง

Picture

แบบก่อสร้าง ศาลาการเปรียญภาคเหนือ โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง

"ติดต่อขอรับแบบฟรีได้โดยตรง
กร 089-4816742 ทุกวันทำการ "


ผู้จัดทำ : กรอาร์ทดีไซน์
สถาปนิก : กิตติกร สุเมธินทกุล
วิศวกร : สิงหา แดงนิเวศน์, วันชัย พิรอดรัตน์
เขียนแบบ : รัฐศาสตร์ เลิศวิริยะนนท์, เชษฐา ปาลจิณ,ฉัตรชัย บุญสุข
จัดพิมพ์ : ประสานงาน : อัญชลี พิมพ์พจน์, ศุภกร สุเมธินทกุล
ข้าพเจ้าขอน้อมถวายบูชา
คุณพระศรีรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ

หมายเหตุ / แจกฟรีแบบก่อสร้างวิหารทานเพื่อศาสนา,สังคม
(สำหรับวัดที่ไม่มีกำลังจ้างสถาปนิกและวิศวกรออกแบบ)
เท่านั้นนะครับ
และเราทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ห้ามผู้ที่นำแบบไปใช้ในเชิงธุรกิจ เชิงพาณิชย์
ทำขาย,รีสอร์ท,อื่นๆ
เพื่อหาผลประโยชน์เข้าตน

"เพื่อตัวของคุณและครอบครัว"

หมายเหตุ / เรียนแจ้งพระคุณเจ้าทุกรูป ให้ทราบว่าทางทีมงานผู้แจกแบบก่อสร้างศาสนสถานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานรับเหมาก่อสร้าง หรือแนะนำผู้รับเหมาก่อสร้างให้แก่วัดใดๆทั้งสิ้น (ออกแบบ-เขียนแบบแจกฟรีเท่านั้น) โปรดระวังมิจฉาชีพ นำชื่อทีมงานของเราไปแอบอ้างว่ารู้จักหรือแนะนำ เพื่อหาผลประโยชน์ทุกๆกรณี

เพื่อความปลอดภัย ควรมีวิศวกรดูแลและให้คำปรึกษาหน้างานก่อสร้างตลอดการก่อสร้าง และควรระวังผู้รับเหมาลดขนาดเหล็กลดขนาดงานโครงสร้างให้ผิดไปจากแบบก่อสร้างของทางทีมงาน ทางวัดผู้รับผิดชอบการก่อสร้างควรกำชับให้ผู้รับเหมา
สร้างตามแบบ มีข้อสงสัยให้โทรสอบถามได้ทันทีกร(สถาปนิก)0894816742.

ค้นหาบล็อกนี้